รีวิว Thor: Love and Thunder

รีวิว Thor: Love and Thunder

รีวิว Thor: Love and Thunder

รีวิวหนังฝรั่ง สวัสดีครับ หลังจากหนัง Thor ภาคใหม่นี้ เข้าโรงไม่นานแอดก็รีบไปรับชม โดยหากจะให้เราเดาอารมของหนังว่าเป็นไปในทิศทางใด สำหรับหนัง Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี คงต้องเป็น สนุก ดูง่าย ตลก ฮา ขำได้แทบทุกฉาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่อัดมุกมาแน่นราวกับกลัวคนดูไม่ขำ เก็บครบไม่ว่าจะห้าบาท สิบบาท หรือ เหรียญสตางค์  กับเรื่องราวของ ธอร์ (รับบทโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ) ผู้กำลังตามหาความสงบจากภายในหลังจากเผชิญความสูญเสียมาหลายครั้ง หนังบู๊

เขากลับมาดูแลตัวเองให้หุ่นดีและออกทำภารกิจช่วยเหลือตามแต่คนจะร้องขอ และคราวนี้เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับภารกิจใหญ่ เมื่อมีกอร์ นักเชือดเทพเจ้า (รับบทโดย คริสเตียน เบล) ออกล่าชีวิตเทพเจ้าไปทุกที่ ทำให้เขาต้องหาทางเอาชนะกอร์ให้ได้ และในขณะเดียวกันหัวใจของธอร์ก็ต้องสั่นไหวเหมือนโดนสายฟ้าฟาด เมื่อเจน (รับบทโดย นาตาลี พอร์ทแมน) แฟนเก่าที่หายไปจากชีวิตเขาถึง แปดปี เจ็ดเดือน กับหกวัน กลับเข้ามาในชีวิตในฐานะไมตี้ธอร์ พร้อมกับควงโยเนียร์ค้อนเก่าของเขากลับมาด้วย คราวนี้ถ่านไฟเก่าจะร้อนรอวันรื้อฟื้นหรือไม่ต้องมาดูกัน ดูหนัง

รีวิว Thor: Love and Thunder

รีวิวหนังฝรั่ง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่านี่เป็นภาพยนตร์ดูง่าย ไม่เครียด ความเศร้าอยู่ไม่นานก็สลายตัวไปอย่างเร็ว ภาพสวย รวยฉากแอ็คชั่นที่ทำได้ดีเสมอตามมาตราฐานมาร์เวล ทำให้ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี สนุกตลอดเรื่องแบบไม่มีหยุดพัก โดยมีสไตล์ที่ต่อเนื่องกับภาคก่อน Thor Ragnarok แต่ถ้าหากภาคก่อนล้างความเป็นธอร์ในแบบสองภาคแรกไปจดหมดเหมือน ในภาคนี้ความเป็นธอร์ก็ถูกหลอมรวมขึ้นมาใหม่และสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งคล้ายกับจะสื่อผ่านการที่โยเนียร์แตกเป็นเสี่ยง และรวมขึ้นมาใหม่ในภาคนี้

หากมองอีกมุมหนึ่งความเป็นธอร์ที่เปลี่ยนไปจากสองภาคแรกก็คล้ายจะสะท้อนความเป็นชายที่สมบูรณ์แบบซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากที่เคยเป็นเทพที่สมบูรณ์แบบทั้งรูปกายภายนอก พละกำลัง ความเก่งกาจ กล้าหาญ เป็นที่สุดของ sterotype ความเป็นชาย เขาได้กลายเป็นคนที่สูญสิ้นสิ่งนั้นไปทั้งหมดใน Thor Ragnarok ค่อย ๆ กู้มันกลับมาในท้ายเรื่อง

ก่อนจะกลับมาสู่ความเป็นชายที่สูมบูรณ์แบบในบริบทของปัจจุบันในภาคนี้โดยมีจิตใจที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว เอาสวัสดิภาพของคนรักมาก่อน ไม่เกรงกลัวหรือหวั่นไหวเมื่อมีผู้หญิงเก่งมายืนข้าง ๆ หรือนำหน้าในบางครั้ง ไม่แบ่งแยกเพศหรือชาติพันธุ์ แบ่งปันพลังของตนเองให้คนอื่นได้ การเป็นผู้ชายที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ก้าวข้ามผ่านความรู้สึกของการสูญเสียได้ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นธอร์ในแบบดั้งเดิมคือการใช้ตัวละครและการเชื่อมโยงกับศาสนาและตำนานกรีก อย่างการปรากฏตัวของเทพต่าง ๆ รวมไปถึงซูส การนำละครเวทีซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมกรีกเข้ามาร่วมด้วย

รีวิว Thor: Love and Thunder

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจใน Thor: Love and Thunder คือตัวละครกอร์ ผู้มีความแค้นกับเทพเจ้าที่เพิกเฉยต่อคำร้องขอ และเยาะหยันสาวกของเขาจนเกิดเป็นภารกิจการสังหารเทพเจ้าครั้งใหญ่ ก็ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในสหรัฐที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

การที่กอร์นั้นไม่ได้เป็นบ้า แต่ทำทุกอย่างเพราะความปราถนาที่จะแก้แค้นของเขาซึ่งทำให้เขาเป็นผู้ที่ถูกดาบเนโครซอร์เลือก และได้รับพลังจากมัน ก็ชวนให้นึกถึงการที่นักวิชาการหลายคนได้ออกมาพูดถึงการที่การสังหารหมู่นั้นไม่ได้เกิดจากการที่ฆาตกรนั้นวิกลจริต แต่พวกเขามีสติสัมปชัญญะ และการวางแผนอย่างรอบคอบ ดูหนังออนไลน์

แต่แน่นอนว่าสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเขานั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุทีทำให้เกิดความคิดทำจะทำแบบนั้นได้ บทความจาก ABC เผยว่าหลังการระบาดของโควิด-19 ความถี่ของเหตุการณ์กราดยิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสถานการณ์เพิ่มความกดดันทางจิตใจ และการเงิน ผ่านความกลัวความตาย ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอน

ซึ่งอาจจะนำมีสู่การเพิ่มความถี่ของการก่อเหตุกราดยิงได้ ซึ่งก็ไม่ต่างกับสถานการณ์ที่กอร์เผชิญ ทั้งความยากแค้น ความตายที่มารออยู่ตรงหน้า และสภาพจิตใจที่ย่ำแย่จากการเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าต้นเหตุของโศกนาฏกรรมนั้นอาจจะมาจากการบริหารงานที่ย่ำแย่ และความเพิกเฉยของผู้นำ ซึ่งเทียบได้กับเทพเจ้าที่บันดาลความเป็นไปของประชาชน ซึ่งทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้นั่นเอง

รีวิว Thor: Love and Thunder

สิ่งที่น่าเสียดายคือส่วนที่เป็นดราม่าของเรื่อง ทั้งบทบาทกอร์ที่มีอยู่ไม่มากนักในเรื่อง และปมอาการป่วยของเจนที่เป็น ‘เนื้อ’ ของเรื่อง เป็นเหตุเป็นผลที่ทำให้เรื่องมีน้ำหนักนั้นมีอยู่น้อยไปนิด เมื่อเทียบน้ำซึ่งก็คือมุข และความบันเทิงต่าง ๆ ที่ไม่ได้เดินเรื่องมากเท่าไหร่

แต่ก็ยังดีที่ได้นักแสดงอย่าง นาตาลี พอร์ตแมน ที่อาศัยความเก๋าเอาเรื่องจนอยู่หมัด และคริสเตียน เบล ที่เล่นน้อยแต่สื่อความหมายได้อย่างชัดเจนจนผู้ชมสามารถเข้าใจตัวละครอย่างทะลุปรุโปร่งได้เพียงแค่สบตาเขาในจอ บวกกับการแสดงที่อยู่ตัวของนักแสดงคนอื่น ๆ ดูหนัง

ทำให้เนื้อที่มีอยู่น้อยอร่อยทุกคำ และลีลาการปรุงรสของ ไทก้า ไวทีที ที่มีเพลงประกอบเด็ด ๆ และจังหวะตลกที่โบ๊ะบ๊ะโดนใจผู้ชมเป็นผงชูรส ส่ง Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรัก และอัสนี ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็คงจะเป็นก๋วยเตี๋ยวอีกหนึ่งชามที่คุ้นลิ้นผู้ชม อร่อย กินได้เรื่อย ๆ เพลิน ๆ จนหมด และได้แต่รอชิมชามถัดไปว่าคราวหน้าจะมีอะไรแปลกใหม่ให้ลองหรือไม่ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรัก และอัสนี เข้าฉายแล้ว ในโรงภาพยนตร์

ความรู้สึกหลังดู Thor: Love and Thunder

รีวิวหนังฝรั่ง สิ้นสุดการรอคอยถึง 5 ปีเต็ม กับภาคย่อยภาค 4 ของ ธอร์ เทพเจ้าสายฟ้า ที่งานนี้ยังคงได้ผู้กำกับคนเดิม ไทก้า ไวตีติ มากุมบังเหียนต่อ ทำให้ภาพยนตร์ภาคนี้ยังคงออกมาตามสไตล์ ที่เคยทำไว้ในภาค Thor : Raknarok สนุก ตลก ครั้งนี้ได้นักแสดงฝึมือฉกาจ ระดับออสก้าร์มาปะทะฝีมือกัน อย่าง คริสเตียน เบล (พ่อหนุ่มค้างคาว เวอร์ชั่นก่อน จาก DC ) และ นาตาลี พอร์ตแมน ร่วมด้วย รัสเซลล์ โคลว์ และ แมตต์ เดมอน

– สนุก ตลก เสพง่าย ขำได้ทั้งเรื่อง
ส่วนตัว ถ้าถามโอ๋ โอ๋ชอบนะ มันเหมือนกับภาคที่แล้ว ไม่เครียด ตัวหนังเหมือนถูกขับเคลื่อนด้วยความตลก แทรกมุกโบ๊ะ บ๊ะ ตลอดเรื่องจนเมื่อยกราม ตามสไตล์ ไทกา ไวทิทิ ใครชอบภาค Raknarok ชอบภาคนี้แน่ แต่เนื้อหาไม่ซับซ้อน ค่อนข้างเบากว่า ตัวละครตัวอื่นมาก และไม่ค่อยเกี่ยวกับจักรวาล MCU เท่าไหร่ ดูหนังออนไลน์
(แต่ตอนจบ END credit 2 ตัว เกี่ยวนะ )

– เรื่องราวทรงพลัง เพราะฝีมือของเหล่านักแสดง
อย่างที่บอกว่า เนื้อหาในตัวของ ธอร์ เสพง่าย ไม่ซับซ้อน เมื่อเทียบกับ MCU ภาคแยกอื่น ๆ แต่ที่ทำให้ภาพยนตร์ดูมีพลัง ไม่กลวง ก็ต้องขอชื่นชมการแสดงของ คริสเตียน เบล สลัดคราบพระเอกไอ่ค้างคาวทิ้งเสียสนิท เล่นแบบไม่ห่วงหล่อ ถ่ายทอดความเจ็บปวด และความคับแค้นใจ ได้ทรงพลังทะลุเมกอัพหนังเหี่ยวย่น ออกมาเลย บวกกับการเล่นซีนอารมณ์ เรื่องราวดราม่าของ นาตาลี พอร์ตแมน ถึงมาไม่มาก แต่มาแต่ละครั้ง ก็ปัง! ทำให้เราเชื่อและอินกับตัวละคร ส่งผลให้ภาพยนตร์ธอร์ภาคนี้ ไม่เบาจนเกินไปนัก
ในวัย 40 ปีกับบท ไมตี้ ธอร์ เท่ สวยบาดใจ ชอบมาก

เอาไปเลย 9.8 เต็ม 10
โบ๊ะ บ๊ะ ดูสนุก สอดแทรกมุกให้ขำกรามค้าง
ปะทะฝีมือการแสดงอันทรงพลังของ คริสเตียน เบล
และ นาตาลี พอร์ตแมน เป็นยังไง เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *